วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

การศึกษาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน : บนฐานภูมิปัญญาและการมี ส่วนร่วมของประชาชน
ตามแนวคิด ดร. โกวิท วรพิพัฒน์

"คิดเป็น มาจากแนวคิดที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต้องการความสุข คนคิดเป็นจะสามารถดำรงชีวิต ให้พบความสุขได้"

กระแสความคิดที่ชัดเจนของคณะศึกษาอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมให้แก่ชุมชน ท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ทิศทางการพัฒนาประเทศเป็นการพัฒนาแบบรวมศูนย์ เป็นการพัฒนาที่มุ่งหวังแต่ความเจริญในระดับมหภาค จนทำให้ชุมชนชนบท ซึ่งคนพี่น้องชาวไทยของเรากว่า ร้อยละ 70 ยังใช้เป็นฐานในการดำรงชีวิต ถูกมองเป็นเพียงฐานวัตถุดิบและสายพานลำเลียงแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาในรอบ 30 - 40 ปีจึงกลายเป็นการพัฒนาที่ค่อยๆ ทำให้ชนบทอ่อนแอลงเป็นลำดับ ทั้งในแง่กำลังคนและในแง่ศักยภาพการผลิต


แนวคิดใหม่ของการพัฒนาจึงเน้นการพลิกฟื้นความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันได้ด้วยตนเอง เน้นรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ พึ่งตนเองได้ในแง่ปัจจัยการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะมีขีดความสามารถในการผลิตเพื่อขายได้ในระดับหนึ่งด้วย

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียง ให้บังเกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศไทยได้นั้น ก็คงหนีไม่พ้นปัจจัยเรื่องกำลังคนเป็นสำคัญ แนวคิดของคณะศึกษาจึงมุ่งเน้นที่การผลลิตและพัฒนากำลังคนในท้องถิ่นต่างๆ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถขั้นพื้นฐานที่จะประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ในชนบทได้ แต่ที่สำคัญยิ่งก็คือ การปลูกฝังให้เยาวชนที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังของท้องถิ่นเหล่านี้ มีความรัก มีความผูกพันต่อท้องถิ่น

ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นผู้หนึ่งที่เน้นรูปแบบการศึกษายุคใหม่ที่ปลูกฝังความรัก ความผูกพันกับท้องถิ่นให้แก่เด็กๆ และในขณะเดียวกันก็ให้ทักษะความรู้ความสามารถเพื่อที่เด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้น เป็นกำลังการผลิตที่เก่งกล้าสามารถได้ ไม่ว่าจะอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลเพียงใด ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "การเรียนจะให้รักถิ่นได้ มันต้องมีความรู้สึกว่า ถิ่นเรานี้เลี้ยงเราได้ เรามีเกียรติเพราะอยู่ในถิ่นของเรา สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ โดยที่ช่วยเหลือคนอื่นได้ ช่วยเหลือตัวเราเองได้ ขณะนี้การเรียนการสอนของเราสักแต่สอนให้รักถิ่นแต่ปาก แต่มิได้แสดงให้เด็กเห็นและเชื่ออย่างชัดเจนว่า ท้องถิ่นของเขา จะทำให้เขาอยู่รอดอย่างมีเกียรติในสังคมได้อย่างไร"



ดร.โกวิท กล่าววิจารณ์เรื่องนี้ต่อไปว่า "เดี๋ยวนี้บัณฑิตจบใหม่ ก็ไม่กลับไปบ้านตัวเอง ไม่ไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่เห็นรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพราะงานการดีๆ มีแต่ในเมืองหลวง นักศึกษาเดี๋ยวนี้ก็เล่าเรียนกันแต่เรื่องสภาพของเมืองหลวง ไม่ค่อยได้เรียนเกี่ยวกับชนบท เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง ที่จริงเมืองอยู่ได้ด้วยชนบท และชนบทก็อยู่ได้เพราะเมือง เพราะฉะนั้นการเรียนจึงจำเป็นต้องเรียนเกี่ยวกับท้องถิ่น ให้รู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวเองก่อน รู้เกี่ยวกับความเป็นมาของท้องถิ่น ปัญหาของท้องถิ่น เรียนรู้คู่ไปกับการลองทำจริงๆ ให้เห็นโอกาสและความหวังในท้องถิ่นของตนเอง จากนั้นค่อยไปเรียนเรื่องไกลตัวเรื่องเมือง ก็จะทำให้คนคนนั้นเป็นคนที่มีความรู้รอบตัว สามารถพัฒนาตนเอง อยู่ในชนบทก็ได้ หรือจะมาสานงาน สร้างงานอยู่ในเมืองก็ได้"

แนวคิดสำคัญของคณะศึกษาในการส่งเสริมเรื่องการศึกษา เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนนั้น เน้นที่การปลุกพลังชุมชนขึ้นมาบนฐานภูมิปัญญา และการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับแนวทางการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา ที่กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน และการบริหารทรัพยากรของโรงเรียนตามสภาพ ความต้องการ ความเชื่อ ตลอดจนรากเหง้าทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ เอง


อ้างอิง ;  northnfe.blogspot.com

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา 

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี 
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน" 

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว 
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"
อ้างอิง ;  northnfe.blogspot.com

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยทรงดำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

ชาวไทยทรงดำจังหวัดพิษณุโลก

ลาวโซ่งในจังหวัดพิษณุโลกเคยตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ จังหวัดเพชรบุรีมาก่อนลาวโซ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองแถง (เมืองเดียนเบียนฟู) ในเวียดนาม เมื่อปี พ.ศ. 2321ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพไปตีราชอาณาจักรลาวได้ทั้ง3 อาณาจักร คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์และอาณาจักรจัมปาศักดิ์ ได้กวาดต้อนชาวลาวมาด้วยเป็นจำนวนมากส่วนที่มาจากเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองสระบุรีส่วนลาวโซ่งให้ไปตั้งถิ่นฐานบริเวณชายทะเล ในเขตอำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรีชาวลาวโซ่งน่าจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดพิษณุโลกเมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2450 ชาวลาวโซ่งได้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอบางระกำ ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลบางระกำ ตำบลพันเสา และในเขตอำเภอวังทอง บางกระทุ่ม อำเภอเมือง บ้านก่อ ตำบลสมอแขและตำบลวังพิกุล เป็นหมู่บ้านชาวไทยทรงดำ ซึ่งยังยึดถือประเพณีดั้งเดิมไว้  เช่น   การแต่งกาย ภาษา  อาหาร และการประกอบอาชีพ รวมไปถึงความเชื่อที่สืบ ทอดกันมานาน ก่อให้เกิดพิธีกรรมและประเพณีที่น่าสนใจ  ประเพณีเสนเฮือน  หรือประเพณีเซ่นผีเรือน    เนื่องจากชาวไทยทรงดำนับถือผีบรรพบุรุษ ที่มาปกป้องลูกหลานให้พบแต่ความสุขความเจริญจึงได้เชิญผีบรรพบุรุษมาไว้บน เรือนในห้องที่เรียกว่า กะล้อห่อง มุมหนึ่งของเสาบ้านในห้องนั้นเป็นที่ไหว้บรรพบุรุษเป็นที่เซ่นไหว้ผีเรือนทุก ๆ 10 วัน เรียกว่า ป้าดตง โดยมีแก้วน้ำและชามข้าววางอยู่เป็นประจำ แม้ในกระแสวัฒนธรรมจากภายนอกที่หลั่งไหลเข้าทดแทนวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับชาวไทยทรงดำ วัฒนธรรมหลายอย่างหาได้สูญสลายไปตามกระแสไม่ แต่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างน่าประทับใจ เช่น ภาษา การแต่งกาย งานประเพณีและการดำรงชีวิตที่สมถะเรียบง่ายแบบดั้งเดิม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ชาวไทยทรงดำพึงพอใจและดำรงรักษาไว้อย่างภาคภูมิ 


งานไทดำบ้านหนองตาเขียว อ บางระกำ จ พิษณุโลก

โดย คุณSuvit Singhruang

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ


ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ข้อมูลทั่วไป
ในปี  พ.ศ. 2538  รัฐบาลได้กำหนดนโยบายสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ให้เป็นปีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรฐับาล  อำเภอบางระกำร่วมกับพ่อค้าและประชาชน ได้จัดหาเงินสมทบสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จำนวน 250,000 บาท  และกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้อนุมัติเงินงบประมาณ จำนวน 826,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,076,000 บาท  โดยขอใช้ที่ดินสุขาภิบาลอำเภอบางระกำในการจัดสร้าง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป  ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2538  เป็นต้นมา ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนได้ย้ายที่ทำการ มาเปิดให้บริการ แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางระกำ (อาคาร ตึกช้าง) ติดกับปั้มเชลล์ ใกล้กับวัดสุนทรประดิษฐ์ เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

00 วิชาการเพาะเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว

การเพาะเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
การเพาะเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว  มีเนื้อหารายละเอียดที่ควรศึกษาประวัติความเป็นมา  ลักษณะมาตรฐานประจำสายพันธุ์  วิธีการเลือกซื้อ  วิธีการเพาะเลี้ยงและแนวทางในการประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว   ซึ่งประชาชนให้มีความสนใจและประกอบอาชีพนี้  เพราะมีคนนิยมเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วกันมาก  ในอำเภอบางระกำมีงานประจำปี  คือ “งานกินปลา  ชมหมาบางแก้ว”  ซึ่งมีการประกวดสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วด้วย
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  1. รู้และเข้าใจประวัติและความเป็นมาของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  2. รู้และเข้าใจลักษณะมาตรฐานประวัติของสายสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  3. รู้และเข้าใจลักษณะเดิมของสายพันธุ์สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  4. รู้และเข้าใจข้อบกพร่องของสายพันธุ์
  5. รู้และเข้าใจลักษณะใบหน้าใบหน้า หู  ตา ปาก ฟัน หาง และขน
  6. รู้และเข้าใจวิธีการเลือกซื้อลูกสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  7. รู้และเข้าใจข้อดีของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  8. รู้และเข้าใจวิธีการเพาะเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  9. รู้และเข้าใจการดูแลเลี้ยงลูกสุนัขตั้งแต่แรกเกิด
  10. รู้และเข้าใจแนวทางในการประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว 
ขอบข่ายเนื้อหา
บทที่ 1 ประวัติสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  • เรื่องที่ 1 มาตรฐานสายพันธุ์
  • เรื่องที่ 2 ลักษณะใบหน้า
  • เรื่องที่ 3 ลักษณะประจำพันธุ์
  • เรื่องที่ 4 ลักษณะใบหน้าของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
บทที่ 3 วิธีการเลือกซื้อลูกสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  • เรื่องที่ 1 วิธีการเลือกซื้อสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  • เรื่องที่ 2 ข้อดีของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
บทที่ 4 วิธีการเพาะเลี้ยงลูกสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  • เรื่องที่ 1 วิธีการเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  • เรื่องที่ 2 ข้อคิดในการเลือกซื้อสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
  • เรื่องที่ 3 การดูแลเลี้ยงดูสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว
บทที่ 5 แนวทางการประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว

เครดิต โดยThai bangkaew
-------------------------------------------------





วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

01 บทที่ 1 ประวัติสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว

บทที่ 1
ประวัติสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว

ประวัติสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว

ประวัติความเป็นมาของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จากข้อมูลที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจน ผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้ว ตำบลท่านางงาม และบ้านชุมแสงสงคราม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วนั้นอยู่ที่วัดบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่ว ๆ ไปนั้นยังคงเป็นป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นสุนัขสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ชุกชุม เช่นช้างป่าเป็นโขลง ๆ หมูป่า ไก่ป่า  สุนัขจิ้งจอก และหมาใน
หลวงพ่อมาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดบางแก้ว ที่วัดของท่านเลี้ยงสุนัขไว้  ไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัว  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ดุขึ้นชื่อลือชา  และชาวบ้านทราบกันดีว่าใครที่เข้ามาในวัดแต่ละครั้งจะต้องตะโกนให้เสียงแต่ไกล ๆ เพื่อให้พระอาจารย์มาก เมธาวี ท่านช่วยดูสุนัขเอาไว้ก่อน มิฉะนั้นจะถูกมัน ไล่กัด ด้วยกิตติศัพท์ในความดุของสุนัขที่วัดบางแก้วนี้เอง จึงมีผู้คนนิยมมาขอลูกสุนัขไปเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เฝ้าเรือ เฝ้าแพ เฝ้าวัว เฝ้าควาย พื้นที่ที่สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้ขยายพันธุ์ไปมากที่สุดก็คือ ตำบลท่านางงามและตำบลชุมแสงสงคราม  อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แต่ในปัจจุบันได้ขยายออก เป็นวงกว้างไปหลายจังหวัด


เหตุผลที่สันนิษฐานว่า สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายพันธุ์ เพราะพื้นที่ในเขตตำบลท่านางงาม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ ในอดีตนั้นเป็นป่าดงพงพีที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย สัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งสุนัขจิ้งจอกและสุนัขในอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่สุนัขจิ้งจอกและหมาในตัวผู้จะมาแอบลักลอบเข้ามาผสมพันธุ์กับสุนัขไทยตัวเมียที่เลี้ยงไว้ในวัดบางแก้วนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียว เพราะสุนัขป่าทั้งหลายนี้เป็นสุนัขที่กล้าหาญชาญชัย  ว่องไว  ปราดเปรียว  แข็งแรง ซึ่งเรื่องนี้อาจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ตรวจโครโมโซมของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วแล้วพบว่ามีโครโมโซมของสุนัขจิ้งจอกปะปนในโครโมโซมของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว ซึ่งเป็นการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่าสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วสืบเชื้อสายจากสุนัขลูกผสมระหว่างสุนัขบ้านกับสุนัขจิ้งจอกสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จึงมีลักษณะดีเด่นปรากฏโฉมออกมา คือ มีขนยาว  ขนมีลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้ายอานม้า  หางเป็นพวง มีขนแผงคอคล้ายแผงคอสิงโต  ดุ  เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูง ไม่แพ้สุนัขสายพันธุ์ต่างประเทศ

ปู่เทือง คงเจริญ เป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมอนุรักษ์พัฒนาสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว ปู่เทือง คงเจริญ เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มาก เมธาวี ท่านมีบารมีมาก สามารถสะกดรอยตามเท้าสัตว์ได้   สมัยก่อนเดินทางด้วยม้า แล้วมีโจรมาขโมยม้าของหลวงปู่ หลวงปู่มากก็ใช้คาถาสะกดรอยตามเท้าสัตว์  จากนั้นไม่กี่วันก็ได้ม้ากลับคืนมา  หลวงปู่มากเป็นพระที่มีเมตตาต่อสัตว์ท่านเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมากรวมถึงสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว ที่เป็นสุนัขที่มีคุณค่า   หลังจากนั้น ปู่เทือง ก็ได้นำสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วมาเลี้ยงไว้ที่หมู่บ้านชุมแสงสงคราม จังหวัดพิษณุโลก และมีการพัฒนาสายพันธุ์และเผยแพร่



-----------------------------------------

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

02 บทที่ 2 มาตรฐานสายพันธุ์

บทที่ 2
มาตรฐานสายพันธุ์

สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วนิยมนำมาเลี้ยงกัน  ตั้งแต่  45 วันขึ้นไป เริ่มแรกก็พบสัตวแพทย์เกี่ยวกับ    การทำวัคซีนปีละ 1 ครั้ง อาจจะเป็นวัคซีนรวมหรือแยกก็แล้วแต่ ทำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จากนั้นก็ถ่ายพยาธิ ซึ่งการทำวัคซีนต่อไปก็ทำเพียงปีละ 1 ครั้งก็พอ  เพราะสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วนั้นจัดได้ว่าเป็นสุนัขที่ทนต่อโรคสูง (พื้นฐานอาจมาจากสุนัขไทยที่คุ้นเคยกับสภาพภูมิอากาศ)  การเลือกและดูแลเลี้ยงดูลูกสุนัขแรกเกิดถึงหย่านม   การนำลูกสุนัขมาเลี้ยงนั้นอายุที่สมควรจะนำมาเลี้ยง ควรเป็นอายุประมาณ  6  ถึง  8  สัปดาห์   เพราะลูกสุนัขจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญที่ทำให้ลูกสุนัขเสียชีวิตอยู่บ่อยๆมาเรียบร้อยแล้ว  คือ โรคลำไส้อักเสบจากไวรัส  และโรคหัด ซึ่งถ้าลูกสุนัขได้รับเชื้อไวรัสเหล่านี้และไม่มีภูมิคุ้มกันพอ และเมื่อแสดงอาการของโรคแล้วมากกว่า 90% ของลูกสุนัขจะตายโดยเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกที่อายุ 6 สัปดาห์  และต่อจากนั้นคุณหมอจะแนะนำโปรแกรมที่ถูกต้องให้แก่เจ้าของเอง   นอกจากนั้น ลูกสุนัขที่มีอายุขนาด (6-8 สัปดาห์) นี้จะไม่โตหรือเล็กเกินไป จะยอมรับเจ้าของใหม่ได้ง่ายและเริ่มหย่านมได้แล้ว สรุปได้ว่า อายุสุนัขที่ควรนำมาเลี้ยงควรจะอยู่ระหว่าง  2-3 เดือน



เรื่องที่  1 มาตรฐานสายพันธุ์